เมนู

รูปชีวิตินทรีย์ เป็นปัจจัยแก่กฏัตตารูปทั้งหลาย ด้วยอำนาจของ
อินทริยปัจจัย.
2. อุปาทินนธรรมเป็นปัจจัยแก่อนุปาทินนธรรม ฯลฯ
ในธรรมที่มีอุปาทินนธรรมเป็นมูล มี 3 วาระ (วาระที่ 1-2-3)
รูปชีวิตินทรีย์ มีเฉพาะนัยต้นเท่านั้น นัยที่เหลือนอกนั้นไม่มี.
4. อนุปาทินนธรรม เป็นปัจจัยแก่อนุปาทินนธรรม
ด้วยอำนาจของอินทริยปัจจัย

คือ อินทรีย์ทั้งหลายที่เป็นอนุปาทินนธรรม เป็นปัจจัยแก่สัมปยุตต-
ขันธ์ และจิตตสมุฏฐานรูปทั้งหลาย ด้วยอำนาจของอินทริยปัจจัย.

17. ฌานปัจจัย ฯลฯ 19. สัมปยุตตปัจจัย


[382] 1. อุปาทินนธรรม เป็นปัจจัยแก่อุปาทินนธรรม ด้วย
อำนาจของฌานปัจจัย
มี 4 วาระ
ฯลฯ เป็นปัจจัย ด้วยอำนาจของมัคคปัจจัย มี 4 วาระ.
ฯลฯ เป็นปัจจัย ด้วยอำนาจของสัมปยุตตปัจจัย มี 2 วาระ.

20. วิปปยุตตปัจจัย


[383] 1. อุปาทินนธรรม เป็นปัจจัยแก่อุปาทินนธรรม ด้วย
อำนาจของวิปปยุตตปัจจัย
.
มี 3 อย่าง คือที่เป็น สหชาตะ ปุเรชาตะ และ ปัจฉาชาตะ
ที่เป็น สหชาตะ ได้แก่

ในปฏิสนธิขณะ ขันธ์ทั้งหลายที่เป็นอุปาทินนธรรม เป็นปัจจัยแก่
กฏัตตารูปทั้งหลาย ด้วยอำนาจของวิปปยุตตปัจจัย.
ขันธ์ทั้งหลาย เป็นปัจจัยแก่หทยวัตถุ ด้วยอำนาจของวิปปยุตตปัจจัย.
หทยวัตถุ เป็นปัจจัยแก่ขันธ์ทั้งหลาย ด้วยอำนาจของวิปปยุตตปัจจัย.
ที่เป็น ปุเรชาตะ ได้แก่
จักขายตนะ เป็นปัจจัยแก่จักขุวิญญาณ ฯลฯ กายายตนะ เป็นปัจจัย
แก่กายวิญญาณ.
หทยวัตถุ เป็นปัจจัยแก่ขันธ์ทั้งหลายที่เป็นอุปาทินนธรรม ด้วย
อำนาจของวิปปยุตตปัจจัย.
ที่เป็น ปัจฉาชาตะ ได้แก่
ขันธ์ทั้งหลายที่เป็นอุปาทินนธรรม เป็นปัจจัยแก่กายนี้ที่เป็นอุปาทินน-
ธรรม ที่เกิดก่อน ด้วยอำนาจของวิปปยุตตปัจจัย.
2. อุปาทินนธรรม เป็นปัจจัยแก่อนุปาทินนธรรม
ด้วยอำนาจของวิปปยุตตปัจจัย
.
มี 3 อย่าง คือที่เป็น สหชาตะ ปุเรชาตะ และ ปัจฉาชาตะ
ที่เป็น สหชาตะ ได้แก่
ขันธ์ทั้งหลายที่เป็นอุปาทินนธรรม เป็นปัจจัยแก่จิตตสมุฏฐานรูปทั้ง
หลาย ด้วยอำนาจของวิปปยุตตปัจจัย.
ที่เป็น ปุเรชาตะ ได้แก่
หทยวัตถุ เป็นปัจจัยแก่ขันธ์ทั้งหลายที่เป็นอนุปาทินนธรรม ด้วย
อำนาจของวิปปยุตตปัจจัย.

ที่เป็น ปัจฉาชาตะ ได้แก่
ขันธ์ทั้งหลายที่เป็นอุปาทินนธรรมที่เกิดภายหลัง เป็นปัจจัยแก่กายนี้
ที่เป็นอนุปาทินนธรรม ที่เกิดก่อน ด้วยอำนาจของวิปปยุตตปัจจัย.
3. อุปาทินนธรรม เป็นปัจจัยแก่อุปาทินนธรรม และ
อนุปาทินนธรรม ด้วยอำนาจของวิปปยุตตปัจจัย
.
มีอย่างเดียว คือที่เป็น ปัจฉาชาตะ ได้แก่
ขันธ์ทั้งหลายที่เป็นอุปาทินนธรรมที่เกิดภายหลัง เป็นปัจจัยแก่กายนี้
ที่เป็นอุปาทินนธรรม และอนุปาทินนธรรม ที่เกิดก่อน ด้วยอำนาจของวิปป-
ยุตตปัจจัย.
4. อนุปาทินนธรรม เป็นปัจจัยแก่อนุปาทินนธรรม
ด้วยอำนาจของวิปปยุตตปัจจัย

มี 2 อย่าง คือที่เป็น สหชาตะ และ ปัจฉาชาตะ
ที่เป็น สหชาตะ ได้แก่
ขันธ์ทั้งหลายที่เป็นอนุปาทินนธรรม เป็นปัจจัยแก่จิตตสมุฏฐาน-
รูปทั้งหลาย ด้วยอำนาจของวิปปยุตตปัจจัย.
ที่เป็น ปัจฉาชาตะ ได้แก่
ขันธ์ทั้งหลายที่เป็นอนุปาทินนธรรม ที่เกิดภายหลัง เป็นปัจจัยแก่กาย
ที่เป็นอนุปาทินนธรรมนี้ ที่เกิดก่อน ด้วยอำนาจของวิปปยุตตปัจจัย.
5. อนุปาทินนธรรม เป็นปัจจัยแก่อุปาทินนธรรม
ด้วยอำนาจของวิปปยุตตปัจจัย

มีอย่างเดียว คือที่เป็น ปัจฉาชาตะ ได้แก่
ขันธ์ทั้งหลายที่เป็นอนุปาทินนธรรมที่เกิดภายหลัง เป็นปัจจัยแก่กาย
ที่เป็นอนุปาทินนธรรมนี้ ที่เกิดก่อน ด้วยอำนาจของวิปปยุตตปัจจัย.
6. อนุปาทินนธรรม เป็นปัจจัยแก่อุปาทินนธรรม
และอนุปาทินนธรรม ด้วยอำนาจของวิปปยุตตปัจจัย

มีอย่างเดียว คือที่เป็น ปัจฉาชาตะ ได้แก่
ขันธ์ทั้งหลายที่เป็นอนุปาทินนธรรมที่เกิดภายหลัง เป็นปัจจัยแก่กาย
ที่เป็นอุปาทินนธรรม และอนุปาทินนธรรมนี้ที่เกิดก่อน ด้วยอำนาจของวิปป-
ยุตตปัจจัย,

21. อัตถิปัจจัย


[384] 1. อุปาทินนธรรม เป็นปัจจัยแก่อุปาทินนธรรม ด้วย
อำนาจของอัตถิปัจจัย

มี 5 อย่าง คือที่เป็น สหชาตะ ปุเรชาตะ ปัจฉาชาตะ อาหาระ
และ อินทริยะ
ฯลฯ
บทที่ย่อไว้ พึงจำแนกให้ครบถ้วน.
2. อุปาทินนธรรม เป็นปัจจัยแก่อนุปาทินนธรรม
ด้วยอำนาจของอัตถิปัจจัย

มี 4 อย่าง คือที่เป็น สหชาตะ ปุเรชาตะ ปัจฉาชาตะ และ
อาหาระ
บทที่ย่อไว้ พึงให้พิสดาร.